รายละเอียดโครงการ
หลักการ เหตุผลความจำเป็นและผลงานที่มีมาก่อน
ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเลลึกมีบทบาทหน้าที่ใกล้เคียง
กันประการหนึ่งคือการสำรวจทรัพยากรน้ำลึกโดยเรือสำรวจดังนั้นหากทั้งสองหน่วยงานใช้มาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูลเดียวกันจะสามารถ
นำผลการสำรวจมาสนับสนุนงานกันได้สะดวกยิ่งขึ้น
แนวทางการปฏิบัติที่ผ่านมานั้นผลการสำรวจในแต่ละเที่ยวเรือจะถูกจัดเก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลของแต่ละเที่ยวเรือและแต่ละสถานีสำรวจ
ใน Hard disk ของผู้วิจัยแต่ละคนทำให้เกิดทำให้เกิดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลเมื่อต้องการนำข้อมูลระยะยาวมาใช้ ในปัจจุบันหลายหน่วย
งานรวมถึงประชาชนทั่วไปมีความสนใจในผลการวิจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาร่วม
กับข้อมูลระยะยาว การจัดเก็บข้อมูลแบบเดิมทำให้การสืบค้นข้อมูลระยะยาวใช้เวลามากและมักพบการสูญหาย และผิดพลาดของข้อมูล
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จัดการข้อมูล และติดต่อกับผู้ใช้งานผ่านทางเว็บไซด์นั้นนอกจากจะลดเวลาในการสืบค้น การสูญหาย
และการผิดพลาดของข้อมูลแล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้อมูลหากมีผู้สนใจนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในแนวทางการวิจัยใหม่ๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทั้งในระดับพื้นฐาน และต่อยอด
2. เพื่อลดการสูญหาย และผิดพลาดของข้อมูล
3. เพื่อสร้างมาตรฐานในการเก็บข้อมูลสำรวจของ SEAFDEC และ สพทล.
4. เพื่อพัฒนาบุคลากรของทั้งสองหน่วยงานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยงานวิจัย
5. เพื่อเผยแพร่ผลการสำรวจทรัพยากรประมงของทั้งสองหน่วยงานให้กระจายออกไปสู่วงกว้างมากขึ้น
ระยะเวลาของโครงการ วิธีดำเนินการวิจัย และแผนการดำเนินงานวิจัย
ระยะเวลาของโครงการ
ปีที่ 1) 1 มิถุนายน 2554 - 31 พฤษภาคม 2555
ปีที่ 2) 1 มิถุนายน 2555 - 31 พฤษภาคม 2556
1. วิธีการ
โครงการนี้จะเน้นที่ข้อมูลผลการสำรวจทรัพยากรประมงทะเลลึกจากเรือมหิดล เรือจุฬาภรณ์และเรือ SEAFDEC
1. ศึกษา และรวบรวมข้อมูลจากการจัดเก็บข้อมูลแบบเดิม
2. รวบรวมความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมายที่อยากได้จากระบบสารสนเทศนี้
3. ประชุมสรุปมาตรฐานในการเก็บข้อมูลสำรวจทรัพยากรทะเลลึก
4. ประชุมสรุปรูปแบบของ Web interface
5. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (User interface)
6. ติดตั้งระบบ ทดสอบการใช้งาน และแก้ไขปัญหา
7. จัดการฝึกอบรม
8. จัดทำเอกสาร
8.1 คู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศการสำรวจทรัพยากรประมงทะเลลึก
8.2 คู่มือผู้สำหรับผู้ดูแลระบบสารสนเทศการสำรวจทรัพยากรประมงทะเลลึก
8.3 เอกสารมาตรฐานการเก็บข้อมูลสำรวจทรัพยากรทะเลลึก
2. ความสามารถของระบบ
1. ผู้ใช้สืบค้นข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่านทางเว็บไซด์
2. แสดงคำเตือนเมื่อนำเข้าข้อมูลนอกช่วงที่ควรจะเป็น
3. Backup ข้อมูลอัตโนมัติเมื่อมีการนำเข้า หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล
3. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
1. เครื่องมือทางด้านฮาร์ดแวร์(Hardware)
- เครื่อง Server
- เครื่อง Client
2. เครื่องมือทางด้านซอฟแวร์ (Software)
- MySQL
- Apache web server
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(ผลงานที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเสร็จสิ้นโครงการในลักษณะของต้นแบบผลิตภัณฑ์ ขบวนการใหม่และหรือบทความทางวิชาการ
สิทธิบัตร ฯลฯ)
ปีที่ 1
1. คู่มือการเก็บข้อมูลทรัพยากรประมงทะเลลึก
2. คู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศการสำรวจทรัพยากรประมงทะเลลึก
3. คู่มือสำหรับผู้ดูแลระบบสารสนเทศการสำรวจทรัพยากรประมงทะเลลึก
4. เอกสารมาตรฐานการเก็บข้อมูลสำรวจทรัพยากรทะเลลึก
5. ระบบสารสนเทศการสำรวจทรัพยากรประมงทะเลลึกของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. ระบบสารสนเทศการสำรวจทรัพยากรประมงทะเลลึกของสถาบันวิจัยและพัฒนาประมงทะเลลึก
7. เว็บไซด์เผยแพร่โครงการ
ปีที่ 2
รายงานวิชาการเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสมุทรศาสตร์ และผลจับอวนล้อมทูน่า/เบ็ดราวทูน่า”
Project proposal |